สามารถแบ่งอาหารพื้นเมืองออกเป็นภูมิภาคของประเทศ ที่มีความแตกต่างกัน สามารถแบ่งได้ 4 ประเภทอาการพื้นเมือง คือ อาหารพื้นเมืองภาคเหนือ อาหารพื้นเมืองภาคกลาง อาหารพื้นเมืองภาคอีสาน และ อาหารพื้นเมืองภาคใต้ รายละเอียด ดังนี้
- อาหารเหนือ คือ อาหารพื้นถิ่นของคนในกลุ่ม 17 จังหวัดของภาคเหนือ ลักษณะภูมิประเทศจะเป็น ที่ราบลุ่ม ที่ดอน และที่ภูเขาสูง การดำรงชีพของคนในพื้นที่เหล่านี้ก็แตกต่างกัน อาหารเหนือ จะมีความงดงาม ตามลักษณะนิสัยของคนภาคเหนือ ที่มีกริยาที่แช่มช้อย และจะเน้นเป็น อาหารเมนูผัก เสียเป็นส่วนมาก
- อาหารภาคอีสาน คือ อาหารของคนพื้นถิ่นในกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแอ่งโคราชและกลุ่มแอ่งสกลนคร ลักษณะชุมชนจะตั้งติดเมื่อน้ำ 3 สายหลัก คือ แม่น้ำชี แม่น้ำมูล และ แม่น้ำโขง และ ในกลุ่มชุมชนที่อาศัยตามเขตภูเขา อาหารอีสาน จะมีรูปแบบอาหารที่แตกต่างกันในแต่ละชุมชน ตามความสมบูณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ คนอีสานนิยมกินข้าวเหนียวเป็นหลัก อาหารอีสานจะเน้นรสชาติแบบจัดจ้าน มีปลาร้าเป็นส่วนประกอบ เช่น ส้มตำปูปลาร้า แกงหน่อไม้ ซุปหน่อไม้ เป็นต้น
- อาหารภาคกลาง คือ อาหารพื้นถิ่นของกลุ่มจังหวัดในภาคกลาง ที่มีแหล่งที่อยู่อาศัยบริเวณ แม่น้ำสายหลัก 5 สาย คือ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แมน้ำน่าน และ แม่น้ำเจาพระยา ภาคกลางเป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีความสมบูรณ์ของอาหารการกิน เรียกว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว อาหารภาคกลาง จึงมีความอุดมสมบูรณ์ อาหารภาคกลาง มักจะมีเครื่องเคียง เช่น น้ำพริก ผักสด เป็นต้น ภาคกลางเป็นภาคที่มี อาหารว่าง หรือ ขนมหวาน มากมาย เช่น ขนมกระทงทอง ขนมข้าวเกรียบปากหม้อ ขนมค้างคาวเผือก ขนมปั้นขลิบนึ่ง เป็นต้น
- อาหารภาคใต้ คือ อาหารพื้นถิ่นในจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย ลักษณะภูมิประเทศติดทะเล อาหารจะมีเอกลักษณ์ที่รสชาติที่จัดจ้าน มีเครื่องเทศเยอะ อาหารขึ้นชื่อของภาคใต้ คือ น้ำบูด และ สะตอ อาหารภาคใต้จะได้รับอิทธิพลจาก อาหารของมุสลิมสูง เนื่องจากมีชุมชนชาวมุสลิมเป็นจำนวนมาก
อาหารไทย นั้นหากจะกล่าวถึงนั้น ก็มีรากฐานมาจากอาหารพื้นเมืองรวมกับการได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมด้านอาหารจากประเทศต่างๆ ทั้ง ประเทศตะวันตก ประเทศจีน รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง พม่า ลาว กัมพูชา และ มาเลเซีย ถูกหล่อหลอมด้วยภูมิปัญญาด้านการทำอาหาร ได้ปรับปรุงให้ถูกปากคนไทย จึงเกิดเป็นอาหารไทยในปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น